มดเป็นแมลงสังคมที่อยู่ในวงศ์ Formicidae จัดเป็นแมลงสังคมแท่จรองที่ขนาดรังมีจำนวนประชากรมาก การสร้างรังทำอย่างประณีต มีการติดต่อสื่อสารและการแบ่งชั้นวรรณะแยกออกจากกันให้เห็นชัดเจนทั้งรูปร่าง ลักษณะและหน้าที่ มดมีบทบาทต่อคนในหลายลักษณะทั้งที่เป็นแมลงทำลายศัตรูพืชผลทางการเกษตร ในแปลงปลูกและในโรงเก็บ เข้ามาก่อความรำคาญและก่อความเสียหายในบ้านเรือน โดยมีส่วนแบ่งในอาหารและที่อยู่อาศัยกับคน มดบางชนิดสามารถกักหรือต่อยด้วยเหล็กใน ทำให้เกิดคามเจ็บปวด เกิดอาการแพ้หรือเกิดแผลการติดเชื้อซ้ำ จากสาเหตุนี้ มดจึงจัดเป็นแมลงศัตรูและมีความสำคัญทางการแพทย์

รูปร่างทั่วไปของมด

  • ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน : หัว / อก / ท้อง
  • มีหนวด 1 คู่ : หนวดหักแบบข้อศอก (genlculate) / มีขา 3 คู่
  • ปากเป็นแบบกัดกิน มีฟันเรียกว่า mandlble
  • ท้องปล้องที่ 2,3 มีลักษณะเป็นก้านเรียกว่า pedlcel

วงจรชีวิตของมด
มดเป็นแมลงที่มีการเจริญเติบโตแบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์ (Complete Metamorphosis) ในวงจรชีวิตประกอบด้วย 4 ระยะ คือ จากไข่เป็นตัวอ่อน จากตัวอ่อน เป็นดักแด้ และจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัย

แบ่งเป็นวรรณะต่างๆดังนี้

  • มดแม่รังหรือมดราชินี มีขนาดใหญ่กว่ามดตัวอื่น ที่อยู่ในรัง มีปีก อกหนา ท้องใหญ่ และมักมีตาเดี่ยว สามารถสืบพันธุ์ได้ ทำหน้าที่ สร้างรังและวางไข่ ตลอดจนควบคุมกิจกรมต่างๆ ภายในรัง
  • มดเพศผู้ โดยทั่วไปจะมีปีก ส่วนอกหนาแต่ไม่เท่าของมดแม่รัง ทำหน้าที่ สืบพันธุ์
  • มดงาน เป็นมดเพศเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก เป็นมดที่ออกหาอาหารและพบอยู่เสมอภายนอกรัง นอกจากหาอาหารแล้วยังมีหน้าที่ในการสร้างรัง รักษารัง ดูแลตัวอ่อน ราชินี อีกทั้งยังป้องกันรังด้วย

ชนิดมดที่สำคัญ

1.มดละเอียด (Monomorium indicum)

  • ลักษณะสำคัญ มีสีแดงสนิมปนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนท้องใส หนวดมี 12 ปล้อง อกยาวแคบเห็น ชัดเจน มี 2 ปุ่ม รูปไข่
  • ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังในดิน พบตามบ้านที่อยู่อาศัย ชอบกินของหวาน เมื่อมากินอาหารแล้วจะปล่อยสิ่งขับถ่ายทำให้อาหารมีรสชาติเปลี่ยนไป เคลื่อนไหวรวดเร็ว มักเห็นเดินบน กำแพงหรือฝาห้องมากกว่าบนพื้น

2.มดละเอียด (Monomorium pharaonis)

  • ลักษณะสำคัญ มีสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลอ่อนหรือสีแดงสว่างใส ท้องมีสีเข้มเกือบดำ
  • ลักษณะทางชีววิทยา ชอบทำรังอยู่ใกล้แหล่งอาหาร เช่น ช่องว่างตามกำแพงบ้าน รังมีขนาดต่างๆกันตั้งแต่ ขนาดเล็กจนถึงมีประชากรเป็นพันๆ ตัว และสามารถแตกเป็นรังย่อย จากรังใหญ่ได้ โดยจะกระจายไป ตามบ้าน ที่อยู่อาศัย ทำให้ควบคุมได้ยาก

3.มดละเอียดหรือมดเหม็น (Tapinoma melanocephalum)

  • ลักษณะสำคัญ หัวและอกสีดำ ท้องสีน้ำตาลอ่อน
  • ลักษณะทางชีววิทยา ทำรังบนดินร่วน บริเวณโคนต้นไม้ เช่น ต้นไผ่ ชอบซ่อนตัวตามกาบใบที่มีความชุ่มชื้น เมื่อเข้ามาหาอาหารใน บ้านเรือนจะขับถ่ายมูลทำให้เกิดการปนเปื้อนในอาหารและมีกลิ่นเหม็น

4.มดดำ (Paratrechina longicornis)

  • ลักษณะสำคัญ มีสีน้ำตาลเข้มบางส่วนสีดำ ขนสีน้ำตาลเหลืองปกคลุมอยู่ทั่วไป
  • ลักษณะทางชีววิทยา พบเห็นทั่วไปทั้งในที่อยู่อาศัยและภายนอกบ้าน มดงานออกหากินไกลออกไปจากรัง ดังนั้น จึงยากที่จะควบคุมมดชนิดนี้ทั้งรัง เป็นมดที่เคลื่อนที่ได้เร็วมากโดยไม่ติดตามฟีโรโมนของมดตัวอื่นๆ พบแพร่กระจายอยู่ทั่วโลกบางครั้งอาจจะพบเห็นมดชนิดนี้ขนย้ายไข่ มดชนิดนี้จะไม่ทำอันตรายคน แม้ถูกรบกวน มดดำเป็นมดที่ทำให้เกิดความรำคาญมากกว่าอันตราย

วิธีการควบคุมมด
1.การควบคุมโดยใช้สารเคมี

  • ชนิดสเปรย์
  • เหยื่อพิษ

2.การควบคุมโดยการปรับสภาพแวดล้อม

  • ไม่ให้มีแหล่งอาหารอยู่ในบ้านเรือนหรือบริเวณรอบบ้าน หมั่นสอดส่องดูแลภายในบ้านเรือนไม่ให้มีที่ที่เหมาะสมสำหรับมดมาทำรัง ไม่ควรปลูกต้นไม้ที่มีน้ำหวานไว้ใกล้บ้าน

3.การควบคุมโดยวิธีกล

  • โดยการใช้มือบี้หรือทำลาย ใช้ไม้กวาดกวาดทิ้งหรือการทำลายรังโดยวิธีต่างๆ เช่น ใช้ไฟเผา ตัดรังทิ้งในกรณีที่รังอยู่บนต้นไม้ เป็นต้น
  • กุญแจที่สำคัญในการควบคุมมด คือการหารังมดให้พบ โดยจะต้องทราบชนิดของมดนั้นก่อน

ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก

ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู

ผลิตภัณฑ์ป้องกัน และกำจัดยุง