หนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็วเกือบตลอดปี ปกติหนูจะโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 2 - 3 เดือนขึ้นไป ระยะเป็นสัด (estrus cycle) ในหนูเพศเสียประมาณ 4 - 8 วัน และยอมรับการผสมพันธุ์จากหนูเพศผู้เฉพาะช่วงที่มันเป็นวัดเท่านั้น เพศเสียตั้งท้องนาน 21 - 25 วัน และออกลูกครอกละหลายตัว หลังคลอดลูกแล้ว 24 ชั่วโมงแม่หนูสามารถรับการผสมพันธุ์ได้ทันที ในปีหนึ่งๆ หนูจะออกลูกได้หลายครอกซึ่งมีผู้คำนวณว่าในเวลา 1 ปี หนู 1 คู่ สามารถขยายพันธุ์รวมกันได้มากกว่า 1,000 ตัว

ชีววิทยาของหนู

  • หนูเป็นสัตว์ที่ขยายพันธุ์ได้เร็วเกือบตลอดปี
  • หนูโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 2-3 เดือน
  • เพศเมียตั้งท้องนาน 21-25 วัน
  • ออกลูกครอกละหลายตัว
  • หลังคลอดลูกแล้ว 24 ชั่วโมง แม่หนูสามารถรับการผสมพันธุ์ได้ทันที
  • ในปีหนึ่งๆหนูจะออกลูกได้หลายครอก

อุปนิสัยและความสามารถของหนู
1. หนูเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4 เท้าที่มีขนาดเล็ก มีความหลากหลายในเรื่องอาหาร จึงทำให้พบกระจายเกือบทั่วโลก
2. หนูมีฟันแทะ 2 คู่ คือที่กรามบน 1 คู่และกรามล่าง 1 คู่ ทำให้มีนิสัยการกินแบบกัดแทะ ฟันคู่หน้าของหนูมีลักษณะแข็งพอเหมาะและสามารถงอกยื่นยาวออกไปได้เรื่อยๆ ตลอดชีวิต ประมาณปีละ 5 นิ้ว โดยทั่วไปหนูจะเริ่มแทะเป็นตั้งแต่มีอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์
3. หนูมีประสาทสัมผัสและรับความรู้สึกที่ดีมาก
4. หนูสามารถส่งเสียงและรับฟังเสียงที่มีความถี่สูงถึง 45 Khz หรือ Ultrasound ในการสื่อสารเรื่องตำแหน่งแหล่งอาหารหรืออันตรายได้ในระยะไกลๆ
5. การมองเห็นภาพต่างๆของหนูไม่ดีนัก ทำให้มองเห็นภาพเป็นสีขาวดำ
ประสาทสัมผัสและการรับรู้ของหนู

  • หนูเป็นสัตว์ที่ตาบอดสี
  • การเคลื่อนที่จึงต้องใช้ประสาทรับความรู้สึกอย่างอื่นช่วย
  • หนวด ใช้ครูดไปข้างฝา
  • ขนใต้ท้อง ใช้ถูไปบนวัสดุ
  • อุ้งเท้า
  • จมูก
  • ลิ้นชิมรส
  • หู สามารถรับคลื่นความถี่ได้สูงมาก

6. หนูสามารถกระโดดได้สูงถึง 36 นิ้ว (1เมตร) และกระโดดได้ไกลถึง 48 นิ้ว (1.2 เมตร) จากพื้นที่ราบและสามารถกระโดดจากพื้นที่สูง 15-50 ฟุต (5-15เมตร) ลงสู่พื้นล่างได้อย่างปลอดภัย และได้ไกลอย่างน้อย 8 ฟุต (ประมาณ 2 เมตร)
7. หนูมีหางใช้บังคับทิศทางและการทรงตัว จึงทำให้ปีนป่ายในแนวดิ่ง ได้ดีหรือเดินไต่ลวดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.6 มิลลิเมตร ได้เป็นระยะทางหลายเมตร
8.หนูสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้เป็นอย่างดี เป็นระยะทางไกล 600- 1,000 เมตร และได้นาน 3-4 ชั่วโมง
ชนิดของหนู

  1. 36 ชนิด 4 พวก
  2. 4 ชนิดที่เป็นปัญหาสาธารณสุขและรบกวน
  • หนูนอร์เวย์ (Rattus norvegicus)
  • หนูท้องขาว (Rattus rattus)
  • หนูจี๊ด (Rattus exulans)
  • หนูหริ่ง (Mus musculus

1.หนูนอร์เวย์ (Rattus norvegicus)

  • บางที่เรียกหนูขยะ หนูท่อ หนูสีน้ำตาล หนูชนิดนี้เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูล
  • ลักษณะรูปร่าง ลักษณะขนหยาบมีสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีเทา ส่วนจมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก หางสั้นมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจาง มีเกล็ดหยาบๆ ที่หาง และด้านบนของตีนหลังมีสีขาว มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่
  • ถิ่นที่อยู่อาศัย มักอยู่ตามรู ตามท่อระบายน้ำโสโครก ท่อน้ำ ใต้ถุนตึกหรือบ้านเรือน บริเวณลำคลอง กองขยะมูลฝอย ไม่ชอบขึ้นที่สูง กินอาหารบูดเน่า พวกแป้ง ผัก เนื้อ และปลา
  • การแพร่พันธุ์ ออกลูกปีละ 4 – 7 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 8 –12 ตัว
  • ระยะทางการหากิน 100 – 150 ฟุต
  • ลักษณะมูลหนู มีขนาดใหญ่คล้ายแคปซูลยาวประมาณ 3-4 นิ้ว

2.หนูท้องขาวบ้าน (Rattus rattus) หรือ หนูหลังคา หนูเรือ และหนูบ้านเป็นต้นบางที่เรียกหนูขยะ หนูท่อ หนูสีน้ำตาล หนูชนิดนี้เป็นหนูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูล

  • ลักษณะรูปร่าง ลักษณะขนหยาบมีสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีเทา ส่วนจมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก หางสั้นมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีจาง มีเกล็ดหยาบๆ ที่หาง และด้านบนของตีนหลังมีสีขาว มีเต้านมรวม 6 คู่ อยู่ที่อก 3 คู่ ท้อง 3 คู่
  • ถิ่นที่อยู่อาศัย มักอยู่ตามรู ตามท่อระบายน้ำโสโครก ท่อน้ำ ใต้ถุนตึกหรือบ้านเรือน บริเวณลำคลอง กองขยะมูลฝอย ไม่ชอบขึ้นที่สูง กินอาหารบูดเน่า พวกแป้ง ผัก เนื้อ และปลา
  • การแพร่พันธุ์ ออกลูกปีละ 4 – 7 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 8 –12 ตัว
  • ระยะทางการหากิน 100 – 150 ฟุต
  • ลักษณะมูลหนู มีขนาดใหญ่คล้ายแคปซูลยาวประมาณ 3-4 นิ้ว

3.หนูจี๊ด(Rattus exulans)ลักษณะรูปร่าง หนูชนิดนี้มีความหลากหลายในเรื่องของสีสันขึ้นอยู่กับภูมิประเทศที่พบ หางดำตลอดและมีเกร็ดละเอียด เล็กๆ และยาวกว่าความยาวหัวรวมลำตัว จมูกแหลมจึงทำให้ส่วนใบหน้าค่อนข้าง แหลม ใบหูใหญ่ ตาโต ปีนป่ายเก่งมาก

  • ถิ่นที่อยู่ พบทั่วประเทศ ตามเพดานของบ้านเรือนและอาคารต่างๆ ยุ้งฉาง นาข้าว ในสวนผลไม้ มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น ปกติไม่ชอบขุดรูอาศัยในดิน มักอาศัยอยู่บนต้นไม้ หรือบนที่สูง หรือใต้หลังคา ในห้องต่างๆ ของอาคาร
  • แหล่งอาศัยชอบอาศัยอยู่ในที่แห้งและสูง เช่น ใต้หลังคาบ้านหรือตามขื่อแปของโรงเก็บอาหารสำเร็จรูปต่างๆ บนต้นไม้ เป็นต้น
  • ลักษณะรูปร่าง เป็นหนูที่มีขนาดเล็กที่สุดในสกุล ตาโต ใบหูใหญ่ หางยาวกว่าหัวและลำตัวมาก มีสีเดียวตลอด ขนด้านหลังมีสีน้ำตาลแก่ ขนด้านท้องสีเทา
  • ที่อยู่อาศัย ชอบอาศัยในที่แห้งตามบ้านเรือนโดยเฉพาะ ในห้องครัว ในห้องเก็บของ ในตู้ ลิ้นชัก และยุ้งฉางทั่วประเทศ อาจพบทำลายพืชผลไม้ในไร่นา ไร่สวนบ้าง ในหมู่บ้านที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตร เช่นเดียวกับหนูนอรเว หนูชนิดนี้กินอาหารได้เกือบทุกประเภท

4.หนูหริ่ง (Mus musculus)

  • หรือบางครั้งเรียกว่า house mouse เป็นหนูในตระกูล Mus ชนิดที่พบเห็นตามบ้านเรือนมาก เป็นหนูบ้านที่มีขนาดเล็กที่สุด
  • ลักษณะรูปร่าง จมูกแหลม ขนด้านหลังสีเทาบางทีมีสีน้ำตาลปน มีลักษณะอ่อนนุ่ม ขนด้านท้องสีขาว ส่วนหางมี 2 สีด้านบนสีดำ ส่วนด้านล่างสีจางกว่า
  • ถิ่นที่อยู่อาศัย ตามบ้านเรือน มักชอบหลบซ่อนตัวอยู่ตามตู้ โต๊ะ ที่เก็บของ ตามช่อง ฝาผนัง ตามครัว กินอาหารได้ทุกชนิด แต่ชอบพวกเมล็ดพืช ข้าว
  • การแพร่พันธุ์ ออกลูกปีละประมาณ 8 ครอก ลูกหนึ่งครอกมีจำนวน 5 - 6 ตัว
  • ระยะทางการหากิน 10 – 30 ฟุต
  • ลักษณะมูลหนู ขนาดเล็กกลมยาวปลายแหลมยาวประมาณ 1/8 นิ้ว

วิธีป้องกันกำจัดหนู
1.โดยวิธีกล เช่น ใช้กับดัก กรงดัก กาวดัก เป็นต้น
2.โดยใช้สารเคมี

  • สารกำจัดหนูชนิดออกฤทธิ์เร็ว
  • สารกำจัดหนูชนิดออกฤทธิ์ช้า เป็นสารที่หนูจะต้องกินติดต่อกันช่วงระยะเวลาหนึ่งหรือกินครั้งเดียว และสะสมพิษในร่างกายถึงปริมาณเพียงพอที่จะออกฤทธิ์ทำให้หนูตายโดยเกิดอาการเลือดไม่แข็งตัว (Anticoagulant) เลือดจะออกทางช่องเปิดของร่างกาย ตามบาดแผล เลือดคั่งในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายและถึงตายในที่สุดภายในระยะเวลา 3-15 วัน เป็นเหยื่อพิษสำเร็จรูปที่มีอัตราความเข้มข้นของสารออกฤทธิ์ ตั้งแต่ 0.0025% - 0.005%

3.การควบคุมโดยวิธีการสุขาภิบาลและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

  • โดยใช้หลัก 5 ส.(สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ สร้างนิสัย)

ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก

ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู

ผลิตภัณฑ์ป้องกัน และกำจัดยุง