แมลงวันจัดอยู่ในวงศ์ Diptera พบได้แทบทุกแห่งในโลกเป็นจำนวนมาก บางชนิดเป็นพวกหากินอย่างอิสระ (free-living insect) เป็นตัวเบียน (Parasite) ของคนและสัตว์ทำให้เกิดความรำคาญหรือเป็นพาหะ (Vector) ถ่ายทอดเชื้อโรคต่างๆ เช่น โรค trypanosomiasis, Leishmaniasis,Yaw สู่คนและสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีแมลงวันบางชนิดที่ตัวเต็มวัยหากินอย่างอิสระ แต่ตัวอ่อนหรือตัวหนอนเจาะไซเข้าไปอาศัยอยู่ในแผลของคนและสัตว์ ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "Myiasis" หรือเนื้อร้ายชนิดต่างๆ ได้อย่างไรก็ตามมีแมลงบางชนิดในวงศ์นี้จัดเป็นแมลงที่มีประโยชน์ (beneficial insect) กล่าวคือ เป็นตัวห้ำ (predator) หรือเป็น parasite ของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด ตลอดจนตัวหนอนแมลงวันที่มีความสำคัญในประเทศไทยที่พบบ่อยๆ ตามอาคารบ้านเรือนและชุมชนเท่านั้น

1. แมลงวันจัดอยู่ในวงศ์ Diptera
2. พบได้แทบทุกแห่งของโลกเป็นจำนวนมาก

ลักษณะภายนอกที่สำคัญ

  • มีปีกหน้าเพียง 1 คู่ ปีกคู่ที่ 2 หรือคู่หลังดัดแปลงไป เป็นตุ่มเล็ก
  • พบตาเดี่ยว 3 ตา

ความสำคัญทางการแพทย์และสาธารณะสุขของแมลงวัน
1. เป็นพาหะนำโรค โดยเฉพาะโรคติดต่อทางเดินอาหาร เช่น บิด ไทฟอยด์ อาหารเป็นพิษ อหิวาตกโรค
2. ก่อให้เกิดความรำคาญ
3. เป็นตัวนำพาไข่พยาธิต่าง ๆ ปนไปกับอาหารที่คนกินได้
4. เป็นตัวนำเชื้อโรคบางชนิดในสัตว์เลี้ยง ฯลฯ

1. ชีววิทยาและนิเวศวิทยา
แมลงวันส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่ หนอนแมลงวันมีการเจริญเติบโตเป็น 3 ระยะแล้วจึงเข้าระยะดักแด้ เมื่อจะออกเป็นตัวเต็มวัยจะใช้อวัยวะที่เป็นสันคมแข็งคล้ายใบมีดอยู่ด้านหน้าของหัวกระเทาะเปลือกออกมาเพื่อให้ผนังลำตัวเริ่มแข็งตัว ตัวแก่ชอบกินน้ำหวานจากดอกไม้ และน้ำตาล

1.1 วงจรชีวิต แมลงวันตัวเมียสามารถออกไข่เฉลี่ย ประมาณ 100-200 ฟอง
ระยะไข่ ตัวเต็มวัยตัวเมียจะวางไข่ตามที่ชื้น และแหล่งเสื่อมโทรมต่างๆ ไข่มีสีขาว รูปร่างคล้ายกล้วย
ระยะตัวหนอน ตัวหนอนมี 3 วัย มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกล้วย มีสีขาว ส่วนหัวมีขนาดเล็ก ส่วนท้ายมีลักษณะมนป้าน ระยะตัวหนอนส่วนใหญ่เจริญเติบโตที่อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส
ระยะดักแด้ สภาพแวดล้อมที่ทำให้ดักแด้เจริญเติบโตได้ดีอยู่ที่อุณหภูมิ 35-40 องศาเซลเซียส ระยะเวลาต่ำสุดที่ใช้ในการเจริญเติบโตในระยะดักแด้คือ 3-4 วัน
ระยะตัวเต็มวัย หลังจากตัวเต็มวัยออกจากดักแด้ 2 วัน ก็พร้อมสำหรับการผสมพันธ์
ในประเทศไทยพบแมลงวันมากในฤดูร้อน
1.2 นิเวศวิทยา
แหล่งเพาะพันธุ์ ที่สำคัญของแมลงวันได้แก่

  • มูลสัตว์ พวก วัว ควาย ไก่
  • กองสิ่งปฏิกูลและของเสียจากโรงงานผลิตอาหาร
  • เศษของเน่าเสียซึ่งมีสารอินทรีย์ เช่น เศษอาหารต่าง ๆ

แหล่งเกาะพัก แมลงวันชอบเกาะบนพื้นผิวขรุขระมากกว่าพื้นเรียบ เวลากลางคืนจะเกาะพักในแหล่งที่ใกล้กับแหล่งที่มันหาอาหารในตอนกลางวัน
การแพร่กระจาย
1. แมลงวันสามารถบินได้อย่างน้อย 6-8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
2. มันจะบินอยู่รอบ ๆ แหล่งเพาะพันธ์และแหล่งอาหาร ที่เหมาะสมมันจะอาศัยอยู่บริเวณนั้น
3. แมลงวันจะเคลื่อนกระจายไปในพื้นที่ใกล้เคียง ระยะ 1-5 กิโลเมตร

1.3 ชนิดแมลงวันที่สำคัญ

แมลงวันบ้าน (Housefly) แมลงวันบ้านเป็นตัวถ่ายทอดเชื้อโรคที่เกี่ยวกับตาและโรคทางเดินอาหาร เช่นโรคท้องร่วง

  • ลักษณะภายนอกที่สำคัญ ลำตัวสีเทาดำขนาด 5-6 ม.วงจรชีวิต แมลงวันบ้านชอบวางไข่ตามมูลสัตว์
  • ระยะไข่ ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 2,000 ฟอง ไข่ยาวประมาณ 0.8-1.0 ม.ล.
  • ระยะตัวหนอน สีขาวนวล โตเต็มที่ขนาด 10-14 เจริญเต็มที่ในเวลา 5-6 วัน
  • ระยะตัวเต็มวัย มีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 1 เดือน ตัวเมียวางไข่ประมาณ 120-140 ฟองต่อครั้ง

แมลงวันหัวเขียว (Blowfly) มีลำตัวค่อนข้างใหญ่ พบทั่วไปตามบ้านเรือนโดยเฉพาะตามแหล่งที่มีอาหารเน่าเสีย

  • วงจรชีวิต อัตราการสืบพันธุ์ของแมลงวันหัวเขียวจะสูงในช่วงอากาศอบอุ่น วงจรชีวิตจากไข่จนกลายเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลา 11-16 วัน

2. วิธีการควบคุมแมลงวัน

  • การควบคุมโดยวิธีชีววิทยา (Biological Control) เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติมาช่วยในการกำจัดแมลงวัน เช่น ไรตัวน้ำ , แมงมุม , จิ้งจก , ตุ๊กแก ฯลฯ
  • การควบคุมโดยฉีดพ่นสารเคมีฆ่าแมลง (Chemical Control) การพ่นสารเคมีฆ่าแมลงวันจะช่วยให้ได้ผลดีขึ้น
  • การควบคุมโดยวิธีกล (Mechanical Control) เช่นการใช้วัสดุกาวเหนียว , การใช้กับดักแสงไฟ , การใช้กับดักชนิดเหยื่อล่อ
  • การควบคุมโดยวิธีกายภาพ (Physical Control) โดยใช้ไม้ตีแมลงวันหรือไม้แบตช็อตแมลงวัน

3. การจัดการแมลงวัน

3.1 การสำรวจและตรวจสอบ (Inspection) การสำรวจแมลงวันทำโดยเอาแผงสำรวจไปวางที่มีแมลงวันชุกชุมและนับจำนวนแมลงวันที่มาเกาะที่แผงในระยะเวลา 30 วินาที
3.2 การควบคุมแหล่งพักอาศัย (Habitat Alteration) การจัดการสภาพแวดล้อม จะมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของแมลงวัน
3.3 การควบคุมด้านสุขวิทยาและสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม (Sanitation and environmental management)

  • กำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์
  • นำมูลสัตว์ไปฝังกลบหรือทำปุ๋ยคอก
  • ติดตั้งมุ้งลวดที่ประตู หน้าต่าง และช่องระบายอากาศ
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการแมลงวันแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง

3.4 การควบคุมการโดยวิธีกล

  • การใช้วัสดุกาวเหนียวดักจับแมลงวัน
  • การใช้กับดักแสงไฟ เป็นวิธีการใช้คลื่นแสงดึงดูดแมลงวันเข้าสู่กับดัก
  • การใช้กับดักชนิดเหยื่อล่อเป็นวิธีการที่ออกแบบมาให้สอดคล้องกับนิสัยของแมลงวันที่ชอบตามกลิ่น

3.5 การควบคุมโดยวิธีกายภาพ โดยใช้ไม้ตีแมลงวันหรือไม้แบดช็อตแมลง
3.6 การควบคุมโดยวิธีชีววิทยา เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ มาช่วยในการกำจัดแมลงวันในระยะต่าง ๆ เป็นวิธีที่มีความปลอดภัยสูง
3.7 การควบคุมโดยการใช้สารเคมี

  • การใช้สารเคมีกำจัดตัวหนอน
  • การใช้สารเคมีชุบวัสดุห้อยแขวน
  • การฉีดพ่นสารเคมีแบบครอบคลุมพื้นที่
  • การใช้เหยื่อพิษ

3.8 วิธีการทำบริการโดยใช้สารเคมี

  • การวางแผนการทำบริการ (Treatment Plan) โดยกำหนดวิธีการและความถี่ห่างในการทำบริการ
  • การทำบริการ ให้ทราบถึงรายละเอียดของวิธีการทำบริการ ตลอดจนสารเคมีที่ใช้ตามความเหมาะสม

3.9 การติดตามผล (Follow - Up)

  • ติดตามผลโดยการตรวจนับจำนวนแมลงวัน
  • เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล
  • ปรับปรุงวิธีการและนำไปใช้
  • จดทำการบันทึก

3.10 ข้อสังเกตในการกำจัดแมลงวัน

  • การใช้กับดักแบบเหยื่อล่อ สามารถกำจัดแมลงวันตัวเต็มวัยได้
  • การใช้กับดักไฟฟ้าสามารถควบคุมแมลงวันตัวเต็มวัยได้ในอัตราที่ต่ำ
  • อย่าวางกับดักแสงไฟ ตามสถานที่ต่าง ๆ เพราะจะดึงดูดแมลงชนิดอื่น ๆ มาติดกับดักด้วย

ผลิตภัณฑ์กำจัดปลวก

ผลิตภัณฑ์กำจัดหนู

ผลิตภัณฑ์ป้องกัน และกำจัดยุง